หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบล กลันทา ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
 
ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลหน่วยงาน
บุคลากร
บุคลากร
การบริหารบุคคล
การบริหารบุคคล
ข่าวสาร
ข่าวสาร
แผน
แผน
รายงาน
รายงาน
ระเบียบ
ระเบียบ
บริการประชาชน
บริการประชาชน
องค์การบริหารส่วนตำบลกลันทา
Kalanta Subdistrict Administrative Organization
 
 
 
ผลิตภัณฑ์
 
สถานที่สำคัญ
 
กิจกรรม
 
ข่าวสาร
 
 

 
ประชาสัมพันธ์ ข่าวสารจากงานสาธารณสุข  
โรคพิษสุนัขบ้า อันตราย แต่ป้องกันได้
ลำดับภาพที่ 1/4
โรคพิษสุนัขบ้า เกิดจากอะไร
ลำดับภาพที่ 2/4
มาตรการเฝ้าระวังและป้องกันโรคอุจจาระร่วง
ลำดับภาพที่ 3/4
มาตรการเฝ้าระวังและป้องกันโรคอุจจาระร่วง
ลำดับภาพที่ 4/4
<<
>>
X
โรคพิษสุนัขบ้า อันตราย แต่ป้องกันได้
โรคพิษสุนัขบ้า เกิดจากอะไร
มาตรการเฝ้าระวังและป้องกันโรคอุจจาระร่วง
มาตรการเฝ้าระวังและป้องกันโรคอุจจาระร่วง
คลิกที่ภาพเพื่อขยาย

สร้างการรับรู้ให้ประชาชนในพื้นที่ทราบว่าโรคพิษสุนัขบ้ามีอันตรายถึงชีวิต โดยผู้ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าจะเสียชีวิตเกือบทุกรายและสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มียาที่ใช้ในการรักษา แต่ป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน โดยสามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนได้ที่โรงพยาบาลหรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใกล้บ้าน
1) การปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากถูกสุนัขและแมว กัด ข่วน ให้ล้างแผลด้วยน้ำสะอาดทันที เช็ดแผลด้วยยาฆ่าเชื้อ และรีบไปพบแพทย์ทันทีพร้อมประวัติการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เพื่อเข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง
2) หากพบว่าสุนัขและแมว กัด ข่วน ตนเองหรือผู้อื่น ให้นำสุนัขหรือแมวขังไว้ เพื่อสังเกตอาการอย่างน้อย 10 วัน หรือพบสัตว์สงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้าต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์จังหวัด เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัดทันที




มาตรการเฝ้าระวังและป้องกันโรคอุจจาระร่วง
1. เป็นภาวะที่ทำให้เกิดการถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำอย่างผิดปกติตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป ภายใน 1 วัน หรือมีอาการถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง และอาจมีอาเจียน สาเหตุมาจากการรับประทานอาหารและน้ำที่ไม่สะอาด ภาชนะที่ใส่อาหารสกปรกและมีการปนเปื่อนเชื่้อโรค
2. การดูแลตนเองเบื้องต้น
   2.1 สามารถดื่มน้ำเหลือแร่เพื่อป้องกันการขาดน้ำ กินอาหารอ่าอนย่อยง่ายหากอาการไม่ดีขึ้นควรรีบพบแพทย์ ณ โรงพยาบาล หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใกล้บ้าน และหลีกเลี้ยงการซื้อยามารับประทานเอง
   2.2 โดยการกินร้อน รับประทานอาหารสะอาดปรุงสุก ใช้ช้อนกลางตักอาหารและล้างมือให้สะอาดก่อนปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้้ำทุกครั้อง

 

ข่าว ณ. วันที่ 24 เม.ย. 2566 เวลา 10.56 น. โดย คุณ สุภาพร เภสัชชะ

ผู้เข้าชม 135 ท่าน

 
 
 
รับเรื่องร้องเรียน
โทร : 044-666-470
 
  Version ขั้นต่ำของ Browser IE9 / Firefox 3.5 / Chrome / Safari4 / Opera10